โรคเก๊าท์
คือ เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน (PURINE) ทำให้มีกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น และตกตะกอนภายในข้อหรือระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดข้อ หรือนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นโรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
อาการ
อาการแรกที่พบบ่อยที่สุดคือ การปวดข้อนิ้วหัวแม่เท้าอย่างรุนแรง อาจตามด้วยอาการหนาวสั่นและมีไข้ มักพบอาการครั้งแรกในเวลากลางคืน
โรคเก๊าท์ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการปวดจะเกิดขึ้นมีการบวมแดงร้อนร่วมด้วย อาการบวมอาจเกิดชั่วครู่หรือนานเป็นวัน ขึ้นกับว่าผู้ป่วยสัมผัสตัวกระตุ้นมากน้อยเพียงใด หากเกิดการกำเริบบ่อยและนานพอ ก็จะเกิดการเสื่อมของข้อ เมื่อข้อเสื่อมแม้ไม่มีการอักเสบก็ปวดได้
อาการข้ออักเสบพบมากในฤดูที่อากาศเย็น และมักเกิดกับอวัยวะที่อยู่ไกลจากหัวใจ เช่น ปลายมือ ปลายเท้า เพราะกรดยูริกละลายในของเหลวได้น้อยในอุณหภูมิต่ำ จึงมีการตกผลึกเกิดขึ้น และทำให้การไหลของเลือดลดลง
การวินิจฉัย
- จากประวัตมีการปวดข้อ และการตรวจร่างกายดังกล่าวข้างต้นโรคเกาต์มักจะปวดที่ละข้อแต่ต่างจากโรค SLE หรือ Rheumatoid ที่มักปวดที่ละหลายข้อ
- เจาะเลือดพบกรด uric>7mg%
- ตรวจหากรดยูริกในปัสสาวะที่เก็บ 24 ชั่วโมง ถ้าค่าสูงมีโอกาสเป็นนิ่วในไต
- เจาะข้อนำน้ำในข้อตรวจพบเกลือ uric ดังรูป
- X-RAY ข้อที่ปวดพบผลึก uric สะสมตามข้อ
สาเหตุของโรคเก๊าท์
1.
|
ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า โรคเก๊าท์เกิดจากการที่ระดับของกรดยูริกสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมกรดยูริคในร่างกายจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วกรดยูริคจะตกผลึกเมื่อระดับของกรดยูริคในเลือดมากเกิน 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การที่ร่างกายมีกรดยูริคสะสมมากกว่าปกติ เป็นระยะเวลานาน ก็จะไปตกตะกอนอยู่บริเวณรอบๆ ข้อ หรือภายในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
2.กรดยูริคเกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, เซี่ยงจี้ เป็นต้น ร่างกายจะย่อยพิวรีนจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี ในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ พบว่าเกิดความผิดปกติของกระบวนการใช้และขับถ่ายสารพิวรีน
|
3. ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ทั้งหมด เกิดจากการที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่าย ออกมาได้ช้าหรือน้อย จนทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย และเกิดเป็นโรคเก๊าท์ขึ้น คนที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับกรดยูริกในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่เสมอไปทุกคน และ หลายคนที่มีระดับกรดยูริกสูงในกระแสเลือดกลับไม่มีอาการข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์
4.ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 เกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริคมากเกินไป พบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 10
5.พบว่าร้อยละ 18 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเก๊าท์เช่นกัน และโรคพันธุกรรมที่พบน้อยบางชนิด ทำให้ร่างกายสร้างกรดยูริคออกมาในปริมาณที่มากเกิน ได้แก่ hypoxanthine-guanine phosphoribosyl transferase deficiency (Lesch-Nyhan syndrome),glucose-6-phosphatase deficiency (von Gierke disease), fructose1-phosphate aldolase deficiency, และ PP-ribose-P synthetase variants
6.โรคเก๊าท์มักเป็นกับผู้ชายวัยสูงอายุ เนื่องจากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบทันที แต่ต้องใช้ระยะเวลาที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือดจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนานจนกว่าจะเริ่มมีอาการคืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริคจะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงโดยเฉพาะเอสโตรเจนจะมีผลทำให้กรดยูริคในเลือดไม่สูง
7.ผู้ป่วยโรคต่อไปนี้ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์มากขึ้น ได้แก่ โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดแข็งผิดปกติ,ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารตะกั่ว, โรคไตวายเรื้อรัง และโรคเลือดชนิด sickle cell anemia, myeloproliferative disease
8.การดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากไปขัดขวางกระบวนการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย อีกทั้งแอลกอฮอล์ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริก โดยการเร่งกระบวนการการสลายตัวของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตในเซลล์ การดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการดื่มเบียร์ซึ่งจะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ทันที เพราะเบียร์มีสารกวาโนซีนซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นกรดยูริกในร่างกายได้มาก
แนวทางในการรักษาโรค
1.รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นพึงระลึกไว้เสมอว่าการรักษาอาการข้ออักเสบจนหาย ไม่ได้หมายความว่ารักษาโรคเก๊าท์หายแล้ว ผลึกของกรดยูริคยังคงอยู่ภายในข้อ และอาจก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้
2.ป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบของข้อจากผลึกของกรดยูริค โดยการใช้ยาลดการอักเสบขนาดต่ำต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
3.รักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงมากขึ้น โดยแก้ไขปัญหาทางเมตาบอลิกไปพร้อมๆ กัน
เมื่อเป็นโรคเกาต์ ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
1.
|
ที่สำคัญที่สุด คือ การรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งโรคเก๊าท์และโรคประจำตัวอื่นๆ ให้รับประทานยาตามกำหนด ถ้ามีอาการผิดปกติให้ปรึกษาแพทยื ผู้ป่วยโรคเกาต์มักมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคทางระบบประสาท โรคเบาหวาน เป็นต้น
| |
2.
|
หยุดพักการใช้ข้อระยะที่มีการอักเสบ หลีกเลี่ยงการบีบนวด จะทำให้ข้ออักเสบเพิ่มมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อน และความเย็นประคบบริเวณข้อ ในขณะที่มีการอักเสบ
| |
3.
|
รับประทานอาหารโปรตีนในปริมาณที่พอเหมาะ หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่เป็นอาหารแสลง กระตุ้นให้เกิดข้ออักเสบทุครั้งที่รับประทาน ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น เครื่องในสัตว์ น้ำซุปกระดูกสัตว์ เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เช่น เบียร์ สุรา ไวน์ บรั่นดี เป็นต้น
| |
4.
|
ดื่มน้ำมากๆ 2-3 ลิตรต่อวัน เพื่อเร่งขับกรดยูริกทางไต และป้องกันการตกผลึกกรดยูริกตกค้างในไต
| |
5.
|
หลีกเลี่ยงอากาศเย็น โรคเกาต์มักมีอาการกำเริบเวลาอากาศเย็น และเวลากลางคืน
| |
6.
|
ลดน้ำหนักในผู้ป่วยโรคเกาต์ที่อ้วน เพื่อลดการรับน้ำหนักของข้อ และป้องกันไม่ให้ข้ออักเสบ
| |
7.
|
เมื่อมีอาการหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ก้อนหรือปุ่ม ปวดเอวหรือปวดท้อง ปัสสาวะเป็นเลือด ควรรีบมาพบแพทย์ก่อนนัำด
| |
8.
|
ดำเนินชีวิตอย่าให้เคร่งเครียดมากนัก
|
ข้อต่ออักเสบควรปฏิบัตตัวดังนี้
คนที่มีข้อต่ออักเสบ อากาศเย็นอาจจะไปกระตุ้นให้มีอาการเจ็บและปวดมากขึ้นได้ อาการของข้ออักเสบ (Arthritis) ที่พบได้บ่อยในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) ซึ่งเกิดจากการที่กระดูกอ่อนบริเวณนั้นเสื่อมและถูกทำลายลง ทำให้ปวด เกิดการยึดติดของข้อต่อทำให้เคลื่อนไหวลำบาก และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า หรือที่ข้อมือก็ได้ ส่วนอีกกลุ่มเรียกว่า ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ซึ่งเป็นโรคที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ สามารถเป็นพร้อมๆ กันได้หลายข้อ และส่วนใหญ่จะเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง แต่ที่สำคัญ คือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจจะรุนแรงถึงขั้นทำให้ข้อต่อผิดรูปไปจากเดิม รวมถึงอาจมีการอักเสบและติดเชื้อไปที่อวัยวะที่สำคัญอื่นๆ เช่น ปอด และหัวใจ เป็นต้น
ก่อนหน้านี้คนที่มีอาการของข้อเสื่อมและอักเสบจะได้รับคำแนะนำให้พักมากๆ ลดกิจวัตรประจำวันต่างๆ ให้น้อยลง ซึ่งจะยิ่งทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวน้อย ขาดความยืดหยุ่น เกิดการยึดติดของ ข้อต่อและมีอาการปวดมากขึ้น กล้ามเนื้อก็แข็งแรงทนทานลดลง ในบางคนกล้ามเนื้อบริเวณนั้นถึงกับฝ่อลีบ และไม่มีแรงไปเลย รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของ ระบบหัวใจและปอดก็จะลดลง ทำให้เหนื่อยง่าย กังวลและเครียดตามมา แต่ในปัจจุบันนี้ จากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่ความหนักตั้งแต่ระดับต่ำ (Low-intensity) ไปจนถึงระดับปานกลาง (moderate-intensity) จะช่วยให้อาการต่างๆ ของคนที่เป็นโรคข้ออักเสบดีขึ้น รวมถึงได้ความมั่นใจคืนกลับมามากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยลดและป้องกันปัจจัยเสี่ยง ต่อพยาธิสภาพ
ข้อแนะนำการออกกำลังกายมีดังนี้
1. แบบแอโรบิค (Aerobic Training) จุดประสงค์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เพื่อให้ระบบการทำงานของหัวใจ และปอดแข็งแรงขึ้น สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ โดยไม่เหนื่อยง่ายและปวดที่ข้อต่อ ช่วยลดความเครียด ความกังวล และเพิ่มความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
2.แบบยกน้ำหนัก (Resistance Training) การออกกำลังกายในลักษณะนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อต่อที่เสื่อมหรืออักเสบมีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น ช่วยให้ข้อต่อสามารถรับน้ำหนักตัวหรือแรงกระแทกที่เกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้อย่างมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น
3.เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น (Flexibility)
•
|
การยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ จะช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และช่วยลดปัญหาการยึดติดของข้อต่อ ซึ่งรวมถึงช่วยลดอาการปวดที่จะเกิดขึ้นในขณะเคลื่อนไหว
| |
•
|
ควรอบอุ่นร่างกายแบบแอโรบิคก่อนอย่างน้อย 5 – 10 นาที ก่อนที่จะยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
| |
•
|
สามารถยืดกล้ามเนื้อได้ทุกวันโดยการยืดค้างไว้ อย่างน้อย 10 – 30 วินาที ในแต่ละครั้ง
| |
•
|
การยืดกล้ามเนื้อสามารถทำได้ 1 – 4 ครั้งในแต่ละท่า หรือกลุ่มของกล้ามเนื้อ
| |
•
|
กล้ามเนื้อมัดหลักๆ ที่มักจะยืดหยุ่นน้อยที่ควรเน้น ได้แก่ กล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่าง (lower back) ต้นขาด้านหลัง (ham-strings) บริเวณข้อสะโพก (hip flexor) น่อง (calf) และหัวไหล่ (deltoid)
|
การออกกำลังกายให้ได้ผลดีและปลอดภัยนั้น ควรปรึกษาแพทย์ นักกายภาพบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกกำลังกายก่อนเสมอ จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงและลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง
อาหารเกี่ยวกับโรคเก๊าท์
เนื่องจาก โรคเกาต์ เป็นโรคที่มีลักษณะเรื้อรัง รักษาให้หายได้ยาก ดังนั้น ผู้ที่เป็น โรคเก๊าท์จำเป็นต้องดูแลสุขภาพของตนเอง ผู้ที่เป็น โรคเกาต์ นั้น ควรลดอาหารที่ก่อให้เกิดกรดยูริกมาก ดังนั้น อาหารสำหรับผู้ป่วย โรคเก๊าท์ ควรมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ ประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน เราจึงเสนออาหารในแนวชีวจิตมาให้ท่านได้ลองปฏิบัติกัน - คาร์โบไฮเดรต หรือแป้ง ต้องเป็นคาร์โบไฮเดรตบริสุทธิ์ ยังไม่ได้ขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง ข้าวแดง ข้าวซ้อมมือ ถ้าเป็นขนมปังขอให้เป็นขนมปังโฮลวีท โดยปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ต้องรับประทาน คือ 50 เปอร์เซ็นต์ของแต่ละมื้อ - ผัก มีทั้งผักสด และผักสุก คนที่เป็น โรคเก๊าท์ สามารถเลือกผัก ที่ไม่ก่อให้เกิดกรดยูริกตกค้างในกระแสเลือดมากเกินไปได้ โดยปริมาณผักที่เราจะรับประทานคือ 25 เปอร์เซ็นต์ของแต่ละมื้อ
- โปรตีน แม้คนที่เป็น โรคเก๊าท์ จะไม่สามารถรับประทานอาหารประเภทโปรตีนได้มาก แต่ก็มีโปรตีนบางประเภทที่สามารถกินได้ เช่น เนื้อปลา โดยปริมาณที่รับประทานคือ 15 เปอร์เซ็นต์ของแต่ละมื้อ อย่างไรก็ตามเรากินสักอาทิตย์ละครั้ง 2 ครั้ง ก็ดีเหมือนกัน เพื่อให้ร่างกายปรับอยู่ในระดับสมดุลได้ดี ถึงอย่างนั้นผู้ป่วย โรคเก๊าท์ ควรหลีกเลี่ยงโปรตีนจากถั่วต่างๆ เช่น ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว เป็นต้น เพราะถั่วเหล่านี้มีสารเพียวรีนสูง - ในหมวดเบ็ดเตล็ด ก็ให้เน้นในเรื่องผลไม้ต่างๆ เช่น มะละกอ ฝรั่ง พุทรา ผลไม้แห้ง และสาหร่ายทะเล โดยปริมาณรวมกันแล้ว 10 เปอร์เซ็นต์ของแต่ละมื้อ
ทั้งนี้ คนที่เป็น โรคเก๊าท์ แม้จะมีอาการปวดตามข้อต่างๆ เราก็ควรจะออกกำลังกายเสริมด้วย ด้วยการออกกำลังกายง่ายๆ ที่ไม่กระทบข้อที่ปวดมากนัก แต่หากท่านใดมีอาการดีขึ้นแล้ว การรำตะบอง ซึ่งเป็นรูปแบบการออกกำลังกายในแนวชีวจิต ก็น่าสนใจทีเดียว เพราะเป็นการบริหารกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมประสาท ซึ่งเมื่อประกอบกับการรับประทานอาหารที่ถูกต้องแล้ว จะช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดี อย่างไรก็ตาม โรคเก๊าท์ สามารถเกิดขึ้นได้ไม่เฉพาะผู้สูงอายุ แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน ดังนั้นระวังสักนิดก่อนจะบริโภคอะไร
WORD : http://www.4shared.com/file/oVq6waI2/_online.html