วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

แผลกดทับ



          
  แผลกดทับ

              แผลกดทับ เกิดจากการที่มีการกดทับบริเวณผิวหนังเป็นเวลานาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงผิวหนังลดลงและเกิดการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อ มักเกิดในผู้ป่วยที่ไม่ค่อยรู้สึกตัว ช่วยตนเองหรือเคลื่อนไหวไม่ได้  เมื่อผิวหนังบริเวณที่ถูกกดทับ ขาดเลือดไปเลี้ยงได้ราวๆ 2-3 ชั่วโมง ผิวหนังบริเวณนั้นจะเริ่มตาย เจ็บ เปลี่ยนเป็นสีแดงหรือม่วง ซึ่งหากทิ้งไว้ไม่รักษา จะเกิดเป็นแผล และติดเชื้อได้ แผลกดทับที่เป็นมาก อาจกินลึกไปได้ถึงชั้นกล้ามเนื้อ ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการรักษานาน
             สาเหตุของการเกิดแผลกดทับ
                    1. การกดทับ
                    2. ภาวะทางโภชนาการ
                    3. การถูกจำกัดการเคลื่อนไหว การนอนนาน ๆ โดยไม่เคลื่อนไหว
                    4. การติดเชื้อ
                    5. การทำงานของระบบประสาทความรู้สึกเสื่อม ( Sensory Loss)
                    6. การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง
          โดยปกติแล้วเส้นเลือดจะมีแรงดันของหลอดเลือดฝอย เหมือนท่อน้ำประปา ถ้ามีอะไรพับไว้น้ำก็จะไหลได้เพียง เล็กน้อย ลักษณะเดียวกันกับเส้นเลือดเมื่อถูกทับจนเลือดไม่สามารถ ไหลมาเลี้ยงกล้ามเนื้อได้จะทำให้บริเวณที่ถูกกดทับ มีการตายของเนื้อเยื่อซึ่งแรงกดมากกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท เป็นเวลา 2-4 ชม.ทำให้เกิดแผลกดทับในบริเวณที่มีกล้าม เนื้อมากจะทนต่อแรงกดทับได้ดี กรณีของแรงกดที่มากแม้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำให้เกิดอันตราย ต่อเนื้อเยื่อได้เท่า กับแรงกดบ่อยๆ แต่เป็นระยะเวลานาน
ขณะที่มีการนอนบนเตียงหรือนั่งบนรถเข็น ก็จะต้องมีการ เคลื่อนตัวของคนไข้ไม่ว่าจะเคลื่อนตัวเพื่อเปลี่ยนผ้า ปูที่นอน หรือทำความสะอาด เมื่อมีการถ่ายออกมาไม่ว่าจะเป็น อุจจาระ ปัสสาวะ หรือแม้แต่เรื่องการอาบน้ำ การลุกจาก รถเข็นมานั่งบนเตียง เป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดการเสียดสีกับที่นอนหรือที่นั่ง ซึ่งการเสียดสี หรือการไถไปกับพื้น (ที่นอน, รถเข็น ฯลฯ) การไถหรือถู ทำให้เกิดแรงกระทำโดยตรงต่อชั้นหนังกำพร้า จะทำให้เกิด การปริแตกของเนื้อเยื่อได้เร็วขึ้น



การสังเกตอาการ
     หากเกิดรอยแดงที่บริเวณผิวหนัง รอยดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนกลับเป็นสีเดิมของผิวปกติแม้ว่าจะไม่มีอาการแผลกดทับ แล้ว ก็ตาม นี่เป็นอาการเริ่มต้นของแผลกดทับ รอยแตกของผิวหนังอาจจะเป็นแผลตื้นๆ และสามารถขยายเป็นแผลกว้าง และ ขยายใหญ่ขึ้นลามลึกถึงไขมันไปยังเนื้อเยื่อขยายตัวไปยังกล้ามเนื้อและกระดูก หากเกิดอาการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส ที่แผล แผลจะมีสีเขียวคล้ำดำ มีกลิ่นและหนองและอาจจะต้องใช้การตัดทิ้ง เพื่อรักษาอาการ บางครั้งอาจมีขนาด เล็กเมื่อมองภายนอกแต่ภายในแผลอาจจะมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อพบว่าเกิดรอยแตกหรืออาการ ดังกล่าวบริเวณผิวหนัง ของผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
บริเวณที่อาจเกิดแผลกดทับ
ร่างกายของผู้ป่วยขณะนอนน้ำหนักทั้งหมดของผู้ป่วยจะ กดทับลงในส่วนโปนของกระดูกจะเห็นบริเวณ หลังและสะโพก เป็นส่วนที่มีความเสี่ยงที่สุดจากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่ เป็นแผลกดทับบริเวณดังกล่าวมีจำนวนมากที่สุดด้วย





บริเวณที่อาจเกิดแผลกดทับ
1. ท่านอนหงาย บริเวณที่เกิดคือ ท้ายทอย ใบหู หลังส่วนบน ก้นกบ ข้อศอก ส้นเท้า
2. ท่านอนคว่ำ บริเวณที่เกิดคือ ใบหูและแก้ม หน้าอกและใต้ราวนม หน้าท้อง หัวไหล่ สันกระดูกตะโพก หัวเข่าปลายเท้า
3. ท่านอนตะแคง บริเวณที่เกิดคือ ศีรษะด้านข้าง หัวไหล่ กระดูกก้น ปุ่มกระดูกต้นขา ฝีเย็บ หัวเข่าด้านหน้า ตาตุ่ม
4. ท่านั่งนานๆ บริเวณที่เกิดคือ ก้นกบ ปุ่มกระดูกก้น หัวเข่าด้านหนัง กระดูกสะบัก เท้า ข้อเท้าด้านนอก 
ระดับแผลกดทับและการดูแลแผล
ระดับ 1   ผิวหนังไม่มีการฉีกขาด แต่เป็นรอยแดงกดบริเวณรอยแดงไม่จางหายภายใน 30 นาที ดูแลโดยมีการป้องกันแรงเสียดทานแรงกดทับโดยใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เช่น หมอน เจลโฟม ที่นอนลม, เปลี่ยนท่าทุก 2 ชั่วโมง ทา โลชั่นหรือครีมในผู้ป่วยที่มีผิวหนังแห้ง ดูแลผิวหนังไม่ให้เปียกชื้น และกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหว
    ระดับ 2   ผิวหนังส่วนบนหลุดออก ฉีกขาดเป็นแผลตื้น มีรอยแดงบริเวณเนื้อเยื่อ รอบๆ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน มีสิ่งขับหลั่งจากแผลปริมาณเล็กน้อย หรือปานกลาง ดูแลเหมือนระดับที่ 1 เพื่อป้องกันไม่ให้มีแผลเพิ่ม เช็ดรอบๆแผลด้วย Alcohol 70 % และใช้silver sulfa diazine ปิดด้วยผ้าก็อส ใช้วาสลีนทาผิวหนังรอบแผลเพื่อปกป้องผิวหนังไม่ให้เกิดการเปียกแฉะ ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยา Povidine เช็ดแผล
     ระดับ 3   มีการทำลายผิวหนังถึงชั้นไขมัน มีรอยแผลลึกเป็นหลุมโพรง มีสิ่งขับหลั่งออกจากแผลมาก อาจมีกลิ่นเหม็น
     ระดับ 4   มีการทำลายถึงเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก แผลเป็นโพรง มีสิ่งขับหลั่งออกจากแผลมาก มีกลิ่นเหม็น
     แผลกดทับระดับที่ 3, 4 ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อพิจารณาเลือกวิธีการ การเลือกใช้วัสดุในการใส่แผลให้ถูกต้องเหมาะสมในแผลแต่ละชนิด





การป้องกันแผลกดทับ และการพยาบาล
1. ดูแลพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยจัดให้ตะแคง ซ้าย ตะแคงขวา นอนหงาย นอนคว่ำกึ่งตะแคง สลับกันไปตามความเหมาะสม ควรใช้หมอนหรือผ้านุ่มๆรองบริเวณที่กดทับหรือปุ่ม กระดูกยื่น เพื่อป้องกันการเสียดสีและลดแรงกดทับ
2. ดูแลที่นอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาด แห้ง เรียบตึงอยู่เสมอ
3. ควรใช้ที่นอนที่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ที่นอนลม ที่นอนน้ำ ที่นอนฟองน้ำควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนที่มีการระบาย อากาศไม่ดีเช่น ที่นอนหุ้มพลาสติก
4. การยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรมีผ้ารองยก และใช้การยกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดการเสียดสี
5. ดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาด แห้งไม่อับชื้น เพราะถ้าผิวหนังเปียกชื้นหรือร้อนจะทำให้เกิดแผลเปื่อย ผิวหนังถลอกง่ายโดย
เฉพาะอย่างภายหลังผู้ป่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้วต้องทำความสะอาดแล้วซับให้แห้งและหากสังเกตุพบว่าผู้ป่วยมีผิว
หนังแห้งแตกเป็นขุย ควรดูแลทาครีมหรือโลชั่นทาผิวหนังที่ฉายรังสี
6. ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรงมีการไหลเวียนของ โลหิตดี
7. ดูแลให้อาหารผู้ป่วยอย่างเพียงพอ คุณค่าทางโภชนาการครบโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนจำเป็นอย่างมากต่อผู้ป่วยที่มีแผล กดทับเพราะผู้ป่วยจะสูญเสียโปรตีนไปทางแผลจำนวนมากนอกจากนี้ต้องดูแลให้วิตามิน ธาตุเหล็ก และน้ำอย่างสมดุลด้วย
8. ดูแลทำความสะอาดแผลโดยวิธีปราศจากเชื้อ มีแนวทางปฎิบัติ ดังนี้
8.1 การทำความสะอาดแผลที่อยู่ในระยะงอกขยาย
- ควรล้างแผลเบาๆ ควรทำเฉพาะผิวหนังรอบๆ แผลเท่านั้น หลีกเลี่ยงการขัดถูแผล หรือล้างแผลด้วยแรงดันสูง เพราะจะทำให้สารอาหาร เซลล์ที่กำลังงอกขยาย รวมทั้ง Growth facter ถูกชะล้างออกไปด้วย
- น้ำยาที่ใช้ล้างแผลต้องไม่มีพิษต่อเซลล์ ได้แก่ น้ำเกลือนอร์มัล ส่วนน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น Povidone - Iodine Chlorhexidine, Dekin- solution, Hydrogen peroxide ไม่ควรใช้ในระยะงอกขยาย เพราะจะทำลายเซลล์ที่จำเป็นในการซ่อม แซมแผล ทำให้แผลหายช้า
8.2 การทำความสะอาดแผลติดเชื้อหรือแผลเนื้อตาย
- ใช้การชะล้างแผลด้วยความดันสูง เพื่อขจัดเศษเนื้อตายและแบคทีเรีย
- ใช้น้ำยาทำความสะอาดแผล ( น้ำเกลือนอร์มัล) หรือน้ำยาฆ่าเชื้อล้างแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผลติดเชื้อจากการปน เปื้อน
- กำจัดเศษเนื้อตายและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เพราะเป็นแหล่งให้แบคทีเรียเจริญได้ดีจึงควรตัดเล็บออกให้หมดและ เซลล์ใหม่จะงอกขยายเจริญมาปกคลุมแผลได้ดี
- กำจัดช่องหรือโพรงที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง เนื่องจากช่องหรือโพรงมักมีสารคัดหลั่งจากแผลซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีของแบค ทีเรีย จึงควรทำการอุดช่องหรือโพรงอย่างหลวมๆ ด้วยก๊อสหรือวัสดุที่เหมาะสม
9. อธิบาย ให้คำแนะนำรวมทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและญาติให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพริกตะแคงตัวและการทำความ สะอาดแผล
สรุป++++++การป้องกันแผลกดทับเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลกระทบให้เกิดแผล ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับตามมาได้ รวมทั้งเมื่อเกิดแผลกดทับขึ้นการดูแลที่เหมาะสมตามระดับของแผล ป้องกันไม่ให้แผลลุกลามมากขึ้นการลดแรงกดที่เหมาะสมรวมทั้งการดูแลเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ก็จะทำให้การหายของแผล เป็นไปได้อย่างดี






ดาวน์โหลด  youtube : http://www.4shared.com/video/_KFQrf5d/videoplayback_7.html

                    WORD  : http://www.4shared.com/file/fhjjN_qP/_online.html

3 ความคิดเห็น:

  1. อุปกร ช่วยผู้ป่วยแผลกดทับ
    https://www.facebook.com/friendlyshoppingonline/posts/784824388338903

    ตอบลบ
  2. https://www.facebook.com/friendlyshoppingonline/posts/784824388338903

    ตอบลบ
  3. ฝากด้วยครับ นวัตกรรมใหม่ล่าสุด เบาะรองนั่งป้องกันแผลกดทับ

    ตอบลบ